วันนี้ในอดีต/เดือนกุมภาพันธ์

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2436 : โรงถ่ายหนัง แบล็ก มาเรีย ของ โทมัส เอดิสัน ก่อสร้างเสร็จ
     การก่อสร้างโรงถ่ายหนัง "แบล็ก มาเรีย" ของ โทมัส เอดิสัน เสร็จเรียบร้อย นับเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก และถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ในสตูดิโอ
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2460 : เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1
     เยอรมนี เริ่มขยายการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยจมเรือสินค้าทุกลำที่จะแล่นเข้าหรือออกจากท่าเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร การปฏิบัติการเช่นนี้ ทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และส่งผลให้เยอรมนีต้องแพ้สงครามในปีต่อมา

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียโดยช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยในระยะแรกเปิดสอน 4 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ คณะสหกรณ์ และคณะประมง
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2462 : ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
     ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ต่อมาได้ออกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมขยายการสงเคราะห์ไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และพลเรือนที่ได้ทำหน้าที่ป้องกัน หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรทั้งภายในและภายนอกประเทศ กำหนดให้วันที่ ๓ ก.พ.ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 : เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน ซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย
     เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน นายซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย หลังถูกจับได้ที่ระยอง ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2502 ณ เรือนจำบางขวาง และเมื่อวันที่ 27 กันยายนปีเดียวกัน มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ได้ทำหนังสือขอศีรษะซีอุยจากเรือนจำบางขวางมาเก็บไว้ยังตึกกายวิภาค ภายหลังการประหารนั้นมาทำการผ่าตัด เพื่อวิเคราะห์และศึกษาถึงสาเหตุแห่งความวิปริตผิดประหลาดจากผู้คนธรรมดา
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2404 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง
     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพ และเป็นถนนยาวที่สุดในสมัยนั้น โดยเริ่มต้นสร้างตั้งแต่ถนนสนามชัยไปถึงแม่น้ำถนนตก เป็นถนนเทคอนกรีตและลาดยาง ถนนนี้ชาวต่างประเทศเข้าชื่อกันขอให้ทำขึ้น เพื่อจะใช้ม้า ใช้รถได้อย่างสะดวก
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2402 : ค้นพบบ่อน้ำมันเป็นครั้งแรกในอเมริกา
     ค้นพบบ่อน้ำมันเป็นครั้งแรกในอเมริกา
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 : วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง
     6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 วันเกิด ถนอม มหาเปารยะ นักเขียนหญิงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดและได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์คือเรื่อง พลายมลิวัลลิ์
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2362 : เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ นำเมืองสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ
     เซอร์โทมัส แสตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) นำเมืองสิงคปุระ หรือสิงคโปร์ ตั้งเป็นเมืองท่าการค้าภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ (สิงคโปร์ได้รับเอกราชคืนเมื่อ ปี พ.ศ. 2508)
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 : พิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย
     พิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย สร้างกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงคุ้งบางกระเบียน ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท เป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาท่องเที่ยวกันมากในสมัยก่อน
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2355 : วันเกิดชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ
     วันเกิดชาร์ลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dickens) (ค.ศ. 1812-1870) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ ซึ่งสร้างผลงานยิ่งใหญ่ของโลกไว้หลายเล่ม เขาเป็นนักเขียนแนวสมจริงที่สะท้อนความยากจน ความเลวร้าย และความอยุติธรรมของสังคมอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ได้ดีมากคนหนึ่ง บทประพันธ์ที่สำคัญ เช่น Olivet Twist, David Coperfield, A Christmas Carol
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2371 : วันเกิด จูลส์ เวิร์น ( Jules Verne) นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส
    วันเกิด จูลส์ เวิร์น ( Jules Verne) นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์ที่สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องเป็นจริง และช่วยให้โลกเจริญก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ บทประพันธ์ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่อง ’An voyage in Balloon’ สาระสำคัญในหนังสือเรื่องนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่องที่เขาเขียนขึ้นเป็นส่วนมาก

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499 : เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ใน ซานฟรานซิสโก นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน
     เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ใน ซานฟรานซิสโก จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก แรงสั่นสะเทือนรับรู้ไปถึงทางตอนใต้ของลอสแอนเจลิส จนถึงตอนกลางของรัฐเนวาดา นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 : กัปตันเรือออสเตรเลีย ไทด์ ยอมคืนโบราณวัตถุทั้งหมดที่ลักลอบขุดได้จากซากเรือโบราณให้แก่ไทย
     กัปตันเรือออสเตรเลีย ไทด์ ซึ่งเป็นเรือล่าสมบัติใต้ทะเลที่เช่ามาจากบริษัทในออสเตรเลีย แต่ชักธงปานามายอมคืนโบราณวัตถุทั้งหมดที่ลักลอบขุดได้จากซากเรือโบราณที่อับปางในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ใกล้เกาะจวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ให้แก่ไทยหลังการเจรจากับกองทัพเรือประสบผลสำเร็จ วัตถุโบราณที่คืนมาได้แก่ เครื่องสังคโลกและเครื่องปั้นดินเผาอายุราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จำนวนกว่า 1 หมื่นชิ้น
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2389 : วันเกิด วิลเฮล์ม เมย์แบค วิศวกรชาวเยอรมันผู้ออกแบบรถยนต์คันแรกของ เมอร์ซีเดส
     วันเกิด วิลเฮล์ม เมย์แบค (Wilhelm Maybech 1846-1929) วิศวกรชาวเยอรมันผู้ออกแบบรถยนต์คันแรกของ เมอร์ซีเดส
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 : ละคร อวสานเซลล์แมน บทโดย อาร์เทอร์ มิลเลอร์ เปิดแสดงรอบแรก
     ละคร อวสานเซลล์แมน (Death of a Salesman) ซึ่งเขียนบทโดย อาร์เทอร์ มิลเลอร์ นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เปิดแสดงรอบแรกที่โรงละครโมรอสโค ย่านบรอดเวย์ นครนิวยอร์ก ต่อมาละครเรื่องนี้ได้ออกแสดงทั่วโลกในหลายๆ ภาษาและเป็นละครที่มีอิทธิพลต่อนักเขียนบทละครในหลายยุคหลายสมัย
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2472 : รัฐบาลอิตาลีลงนามในสนธิสัญญาลาเตอรัน กับฝ่ายศาสนจักรของสำนักวาติกัน
     รัฐบาลอิตาลีลงนามในสนธิสัญญาลาเตอรัน (The Lateran Agreenent) กับฝ่ายศาสนจักรของสำนักวาติกัน รับรองวาติกันเป็นดินแดนนอกเหนืออำนาจการปกครองของรัฐบาลนครรัฐวาติกัน (Vatican City) เป็นรัฐอิสระที่ปรกครองโดยสันตะปาปา รัฐศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงโรม เมืองหลวงของอิตาลี วาติกันเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก หากแต่เป็นที่ตั้งของโบสถ์ในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือโบสถ์เซนต์ปีเตอร์
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2351 : วันเกิด ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่
     ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ. เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" (กำเนิดของสรรพชีวิต), ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา การเดินทางออกไปยังท้องทะเลทั่วโลกกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขาชาลส์ ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)ดาร์วินเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของดาร์วินเป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทาง ชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2352 : วันเกิดอับราฮัม ลินคอร์น อดีตประธานาธิบดีและมหาบุรุษที่ชาวอเมริกันยกย่องนับถือ
     วันเกิดอับราฮัม ลินคอร์น มหาบุรุษที่ชาวอเมริกันยกย่องนับถือ สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา เมื่อปี พ.ศ. 2401 ในการหาเสียง ได้โจมตีลัทธิการค้าทาสอย่างหนัก แม้เมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาแล้ว ก็ได้แสดงสุนทรพจน์ต่อต้านการค้าทาสอยู่ตลอดเวลา ในปี พ.ศ.2403 ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เขาพยายามต่อสู้และเลิกทาสได้สมประสงค์ และถูกยิงถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2408
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 : ปูยี (Pu Yi) จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์แมนจู ประเทศจีน ถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์
     ปูยี (Pu Yi) จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์แมนจู ประเทศจีน ถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ โดย ดร. ซุน ยัด เซน หัวหน้าคณะปฎิวัติ ทำให้การปกครองระบบจักรพรรดิ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนกว่า 2,000 ปี สิ้นสุดลง
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 : ไทยทำสัญญาการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาและเมืองหลวงพระบางของฝรั่งเศส
     ไทยทำสัญญาการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาและเมืองหลวงพระบางของฝรั่งเศส การยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบางให้ฝรั่งเศส รวมทั้งให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการทำสัญญาครั้งนี้ ต่อมาฝรั่งเศสยังไม่พอใจในสัญญา ไทยจึงต้องมอบเมืองตราดและเกาะต่างๆ ให้ฝรั่งเศสยึดครอง
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 : มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร ได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เจรจาและลงนามในอนุสัญญาไทย-ฝรั่งเศส
     มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อัครราชทูตไทย ประจำฝรั่งเศส ได้รับมอบอำนาจจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ให้เป็นผู้เจรจาและลงนามกับฝรั่งเศส ในอนุสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง แลกเปลี่ยสกับการให้ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจาก จ. จันทบุรี ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองไว้ถึง 10 ปี
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 : ธงชาติใหม่ของประเทศแคนาดาได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ณ Parliament Hill
     ธงชาติใหม่ของประเทศแคนาดาได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ณ Parliament Hill ได้รับการเชิญขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ณ Parliament Hill ในกรุงออตตาวา ธงชาติรูปใบเมเปิลแดงบนพื้นสีขาว-แดงนี้เป็นธงชาติผืนแรกของแคนาดา ที่ได้รับการออกแบบขึ้นใหม่โดยมีจุดเด่นที่ใบเมเปิลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ทศวรรษ 1700 ธงชาติแคนาดาถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีเปิด อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ฯ
     สมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อเมืองลพบุรี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเมืองลพบุรี พร้อมทั้งสร้างพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ขึ้นในปี พ.ศ.2209 และประทับที่เมืองลพบุรีจนสวรรคตในปี พ.ศ. 2231 ด้วยพระปรีชาของพระองค์ที่นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เมืองลพบุรีในด้านต่างๆ ทำให้ชาวลพบุรีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์ขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงประกอบพิธีเปิด อนุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันนี้ในอดีต
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2420 : บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เปิดโรงเรียนประจำวัดอัสสัมชัญ
     บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ (ค.ศ.-1849-1933)เปิดโรงเรียนประจำวัดอัสสัมชัญ เปิดสอนภาษาฝรั่งเศสและไทย แก่เด็กคริสตังและลูกหลานชาวยุโรป ต่อมาใน พ.ศ. 2428 ได้เปลี่ยนฐานะของโรงเรียน จากโรงเรียนประจำวัด เป็น"อัสสัมชัญคอลเลจ" (บางรัก) เปิดรับเด็กทุกคนในกรุงเทพฯ โดยเป็นโรงเรียนชายล้วน
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2490 : รายการวิทยุประชาสัมพันธ์ระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยของอเมริกา เริ่มออกอากาศไปรัสเซียเป็นวันแรก
     เสียงจากอเมริกา (Voice of America) รายการวิทยุคลื่นสั้นเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยของอเมริกา เริ่มออกอากาศไปรัสเซียเป็นวันแรก เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 : ไคลด์ ทอมแบจ ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล
     ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล โดย ไคลด์ ทอมแบจ (Clyde W.Tombaugh) นักดาราศาสตร์แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory Arizona)จากการเปรียบเทียบภาพถ่ายท้องฟ้าที่บันทึกในเวลาต่างกัน จนสังเกตเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวดวงนี้เมื่อเทียบกับดาวดวงอื่น และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยจักรวาล โดยปรกติจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ไม่ใช่ตลอดไป เนื่องจากมีวงโคจรเป็นวงรีมากกว่าดาวเนปจูน ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะจักรวาลที่ยังไม่เคยถูกสำรวจโดยยานอวกาศอย่างใกล้ชิด
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 : สหรัฐฯยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมาของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2
     สหรัฐฯยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวจิมาของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนำกองเรือจำนวน 459 ลำ ขึ้นบก การรบทางภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ในตอนต้นสงคราม ญี่ปุ่นได้ครองอำนาจอยู่อย่างรุ่งโรจน์ แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 เป็นต้นมาอเมริกาก็เริ่มบุกจนญี่ปุ่นล่าถอย
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2016 : วันเกิด นิโคลัส โคเปอร์นิคัส บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่
     วันเกิด นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543 ) บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่ เขาเป็นผู้ประกาศทฤษฎีว่า โลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 : ได้มีการริเริ่มก่อตั้ง สมาคมทนายความ เพื่อให้เป็นสถาบันอิสระ
    ได้มีการริเริ่มก่อตั้ง "สมาคมทนายความ" เพื่อให้เป็นสถาบันอิสระ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทนายความทั่วประเทศ ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม ทั้งเอื้ออำนวยผลประโยชน์ ดูแลสวัสดิการแก่ทนายความด้วยกัน ต่อมาในปี พ.ศ.2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมจากเดิมเป็น "สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย" ดังนั้น ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงถือเป็น "วันทนายความ" อันเป็นวันสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 : วันทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
     วันทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่ที่หน้าศาลากลาง จ. อุตรดิตถ์ เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงความกล้าหาญของท่าน ที่ได้ต่อสู้กับโปสุพลา แม่ทัพพม่า จนดาบหักคามือ
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 : ประกาศให้ใช้ "พระพุทธศักราช" เป็นปีศักราชอย่างเป็นทางการ
     ประกาศให้ใช้ "พระพุทธศักราช" เป็นปีศักราชอย่างเป็นทางการแทนการใช้ "รัตนโกสินทรศก" เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการใช้ศักราชแบบต่างๆ ไม่เป็นระเบียบเดียวกันและการใช้รัตนโกสินทรศก ยังไม่สะดวกในการใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 : โกมล คีมทอง ซึ่งอุทิศตนให้แก่อาชีพครูสอนหนังสือใน จ.สุราษฎร์ธานี ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิต
     โกมล คีมทอง บัณฑิตหนุ่มจากรั้วจุฬาฯ ซึ่งอุทิศตนให้แก่อาชีพครูและเข้าไปตั้งโรงเรียนสอนหนังสือใน จ.สุราษฎร์ธานี ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงเสียชีวิต เพราะเข้าใจผิดว่าเขาเป็นสายลับให้รัฐบาลแม้ขณะนั้นเขาจะมีอายุเพียง 25 ปีและดำเนินชีวิตครูตามปณิธานที่ตั้งไว้ได้ไม่ถึง 10 เดือน หากแต่ข้อเขียน ความคิด และอุดมคติของเขา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นหลังจำนวนมาก กล่าวกันว่าเขาคือแบบอย่างแห่งความเสียสละซึ่งหาได้ยากในกลุ่มคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 : เบิร์ต ฮินต์เลอร์ นักบินชาวออสเตรเลียบินด้วยเครื่องบินปีกสองชั้นจากประเทศอังกฤษถึงออสเตรเลีย
     เบิร์ต ฮินต์เลอร์ (Bert Hinkler ค.ศ. 1892-1933) นักบินชาวออสเตรเลีย บินเดี่ยวด้วยเครื่องบินปีกสองชั้นจากลอนดอน ประเทศอังกฤษถึงเมืองดาร์วิน ออสเตรเลีย โดยใช้เวลาบิน 128 ชั่วโมง ประมาณ 16 วัน ตั้งแต่เริ่มบินวันที่ 7 กุมภาพันธ์
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 : นาวิกโยธินสหรัฐฯ ปักธงชาติลงบนยอดเขา Surabachi เพื่อฉลองชัยหลังการเข้ายึดเกาะอิโวจิมา
 ระหว่างการสู้รบอย่างดุเดือดของทหารอเมริกันและทหารญี่ปุ่นบนเกาะอิโวจิมา อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ปักธงชาติลงบนยอดเขา Surabachi ซึ่งเป็นจุดสูงสุดบนเกาะอิโวจิมาเพื่อฉลองชัยหลังการเข้ายึดเกาะแห่งนี้ได้
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 : สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจับกุมตัวพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ พร้อมกับทำการรัฐประหาร
    สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) จับกุมตัวพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขนะนั้น พร้อมกับทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 : สื่อมวลชนเสนอข่าวความสำเร็จในการโคลนนิงแกะชื่อ ดอลลี
     สื่อมวลชนเสนอข่าวความสำเร็จในการโคลนนิงแกะชื่อ "ดอลลี" แกะโคลนตัวแรกของโลกที่เกิดจากเซลล์ต้นแบบของแกะโต หลังการแถลงข่าวโดย ดร.เอียน วิลมุด หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันรอสลิน ในสกอตแลนด์ การเสนอข่าวครั้งนี้ทำให้ดอลลีกลายเป็นแกะที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและถูกถ่ายรูปมากที่สุดในประวัติศาสตร์
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 : สถานีวิทยุฯ กรุงเทพฯ ที่พญาไท เริ่มออกอากาศโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 7 มาถ่ายทอด
     "สถานีวิทยุฯ กรุงเทพฯ ที่พญาไท" ซึ่งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่วังพญาไท เริ่มออกอากาศโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 7 ที่พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวังมาถ่ายทอดเสียงทางวิทยุให้ประชาชนได้รับฟังเป็นครั้งแรก ถือได้ว่าเป็นการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเพื่อสาธารณะครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2459 : มีการจดทะเบียนสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้
    มีการจดทะเบียนสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือ "สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้" ตั้งอยู่ในตำบลวัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก สหกรณ์แห่งนี้ทดลองจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินทุนของเกษตรกรโดยให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เมื่อแรกตั้งมีสมาชิก 16 คน กู้เงินจากแบงก์สยามกัมมาจลจำนวน 3,000 บาท
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 : เครื่องบิน แบบ B-50 ชื่อ Lucky LadyII เริ่มเที่ยวบินรอบโลกโดยไม่หยุดพัก
     เครื่องบิน แบบ B-50 ชื่อ Lucky LadyII เริ่มเที่ยวบินรอบโลกโดยไม่หยุดพัก จากฐานบิน ฟอร์ต เวิร์ท (Forth Worth) รัฐเทกซัส และบินรอบโลกโดยการเติมน้ำมันกลางอากาศ 4 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 94 ชั่วโมง
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2513 : โรงแรมดุสิตธานีเริ่มเปิดดำเนินกิจการ
     โรงแรมดุสิตธานีเริ่มเปิดดำเนินกิจการ การตั้งชื่อว่า "ดุสิตธานี" ก็เพื่อให้พ้องกับชื่อสวรรค์ชั้นที่ 4 ที่ชื่อว่า "ดุสิต" เพื่อให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกเหมือนอยู่ในสวรรค์ นอกจากนี้โรงแรมยังตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างเมืองแม่แบบประชาธิปไตยชื่อ "ดุสิตธานี"
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2517 : นิตยสาร people เริ่มวางจำหน่ายเป็นวันแรก
     นิตยสาร “people " เริ่มวางจำหน่ายเป็นวันแรก นิตยสารเล่มนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนในวงการต่างๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบัน
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน
     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน ถือเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย และคนไทยได้ใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากไต้ เทียนไข ตะเกียง น้ำมัน หรือแก๊สในอดีต
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2226 : วันเกิดของ อาร์.เอ.โรเมอร์ นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ผู้คิดค้นเทอร์โมมิเตอร์โรเมอร์
     วันเกิดของ อาร์.เอ.โรเมอร์ นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ผู้คิดค้นเทอร์โมมิเตอร์ (เครื่องวัดอุณหภูมิ) แบบหนึ่งใช้ชื่อว่า "โรเมอร์" ซึ่งมีจุดน้ำเดือดที่ 80 องศา และจุดน้ำแข็งที่ 0 องศา
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2483 : ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย (gone with the wind) ได้รับรางวัลออสการ์รวม 8 รางวัล
     ภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย (Gone with the Wind) ได้รับรางวัลออสการ์ประจำปี ค.ศ. 1939 ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ฯลฯ รวม 8 รางวัลจากการเข้าชิง 13 รางวัล นับเป็นหนังสีเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม