โครงการ หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

1.ห้องต่าง ๆ ที่เสนอ (อุปกรณ์-เครื่องใช้) 1.1   ห้องอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (BKK Archdiocese Deposit)
       - เอกสารต่าง ๆ ที่อยู่ในสมัยแห่งสถานะ “อัครสังฆมณฑล” นั่นคือ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.1965 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถ แบ่งออกได้เป็น  2 วาระ

    
1. วาระพระสังฆราช ยวง นิตโย
       ดำรงตำแหน่งเป็นอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1965-1973

     2. วาระพระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
           ดำรงตำแหน่งเป็นอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1973-ปัจจุบัน และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล ตั้งแต่ปี ค.ศ.1983-ปัจจุบัน เอกสารในสมัยนี้มีจำนวนมาก เนื่องมาจากการขยายงานของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประกอบกับมีการแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมพื้นที่สำรองสำหรับเอกสารจากวัดต่าง ๆ ที่จะส่งเข้ามาจัดเก็บอีกด้วย ปัจจุบัน เอกสารเหล่านี้ได้รับการจัดเก็บอยู่กระจัดกระจาย ได้แก่ :
           1. ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
           2. ห้องผู้ช่วยเลขาธิการ (นายประภาส เสนะวีณิน)
           3. ห้องเลขาธิการ
           4. ห้องทำงานพระคาร์ดินัล
           5. ห้องทำงานอุปสังฆราช
             - นอกจากจัดเก็บเอกสารแล้ว ควรให้มีการแสดงวัตถุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมัยด้วย
           1. หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระสังฆราช
           2. ผลงานเขียนของพระอัครสังฆราช เช่น จดหมายเวียนประกาศ คำขวัญ หนังสือเขียน-แปล
           3. ของใช้ส่วนตัว เสื้อผ้าอาภรณ์พระสังฆราช พระคาร์ดินัล
           4. เอกสารสำคัญอัครสังฆมณฑล รวมทั้งรูปภาพต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ
  ห้อง “มิสซังสยาม” (Mission of Siam)
    -  เอกสารต่าง ๆ ที่อยู่ในสมัยแห่งสถานะ “มิสซัง” หากนับอย่างเป็นทางการ ก็คือ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1669-1965 แต่หากนับสถานะ “มิสซังกรุงเทพฯ” ก็ต้องนับตั้งแต่ราชบุรีได้รับการแยกออกจากกรุงเทพฯในสถานะ“มิสซังเอกเทศแห่งราชบุรี” (MissioneIndependente di Rajaburi) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1929 และในปี ค.ศ.1934 ได้ยกระดับเป็น“สังฆรักษ์”(Perfettura Apostolica) ที่สุด ในปี ค.ศ.1941 ราชบุรีได้รับการยกขึ้นเป็น Vicariato Apostolico หรือ“มิสซังราชบุรี” โดยสมบูรณ์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เอกสารของกรุงเทพฯจะใช้คำว่า “มิสซังกรุงเทพฯ” แทน “มิสซังสยาม” นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1944 ยังได้แยกมิสซังจันทบุรีออกจากกรุงเทพฯอีกด้วย แม้ว่า มิสซังสยามจะเกิดขึ้นเป็นทางการในปี ค.ศ.1669 แต่ประวัติศาสตร์ของมิสซังสยามได้มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้น เอกสารที่ควรมีอยู่ในห้องนี้ ได้แก่ :

1. เอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับมิสซังสยาม (สมัยอยุธยา) (1511-1767)
             - สำเนาเอกสาร จาก M.E.P. Archives
             - สำเนาเอกสาร จาก P.F. Archives
             - สำเนาเอกสาร จาก Archives ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
             - หนังสือที่เขียนในสมัยนั้นที่อาจจะตีพิมพ์ใหม่แล้ว หรือได้รับการแปลโดยกรมศิลปากร รวมทั้งหนังสือ
               ประวัติศาสตร์ต่างๆ
             - งานเขียนของมิชชันนารี

2. เอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับมิสซังสยาม (สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) (1782-1965)
   1.3 ห้องเก็บรูปภาพ แผนที่ แบบแปลน

  
1.4 ห้องอำนวยการ
             - ลงทะเบียนเอกสาร รับ-ส่งเอกสาร
             - คัดแยกเอกสาร
             - จัดเก็บ
             - ซ่อมแซม
             - สารบัญเอกสาร
             - ข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์

  
1.5 ห้องศึกษา-หนังสืออ้างอิง เช่น อุโฆษ วารสาร
             - วิทยานิพนธ์
             - Dictionary

    
1.6 ห้องซ่อมเอกสาร

    
1.7 ห้องเก็บของ (Store)

2. อุปกรณ์-เครื่องใช้
       ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของงาน เช่น หิ้ง กล่อง เครื่องอุปกรณ์การซ่อมเอกสาร ตู้เก็บหนังสือ ฯลฯ

3. บุคลากร
       1.  ห้องเอกสาร 2 คน
       2.  ห้องซ่อมเอกสาร
2 คน
       3.  ข้อมูลคอมพิวเตอร
์ 1 คน
       4.  ศึกษา-ค้นคว้า1คน