วัฒนธรรมท้องถิ่นชาวเวียดนามในไทย

 
ญวน หรือ เวียดนาม เป็นชื่อประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อน บ้านของไทย มีความสัมพันธ์ในด้านประวัติศาสตร์ การ เมือง เศรษฐกิจการค้าขายติดต่อไปมาหาสู่ เป็นเวลาช้านานแล้ว คราวใดที่ชนชาวญวน ได้รับความเดือดร้อนจากภัยสงครามทั้งในประเทศ และนอกประเทศมักจะมาขอความช่วยเหลือจาก ไทยอยู่เสมอบางครั้งก็พากันอพยพเข้ามา ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งพระเจ้าแผ่นดินไทย ซึ่งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานเมตตา จัดที่ให้อยู่อาศัยเสมอมา ด้วยเหตุนี้ใน ประเทศไทยจึงมีชื่อสถานที่ที่เกี่ยวกับชาว ญวนอยู่หลายแห่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ 
 
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีบ้านญวนอยู่ที่คลองตะเคียง ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มใหญ่ทางทิศใต้นอกประกอบ อาชีพค้าขาย ทำการเกษตรและการประมงน้ำจืด บ้านญวนอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่หัวเกาะใหญ่ราชครามอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
 
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พ.ศ.2310 ชาวไทย และชาวญวนชาติอื่นๆ ต่างพากันอพยพหนีภัย สงครามล่องลงมาทางใต้ สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชาวญวนไปตั้ง บ้านเรือนอาศัยอยู่ตรงข้ามกับกรุงธนบุรี บริเวณถนนตรีเพชรถนนบ้านหม้อในปัจจุบันถิ่นฐานที่ เหลืออยู่ในความทรงจำเวลานี้ก็มีเพียง แต่ชื่อ "ญวนบ้านหม้อ" เท่านั้น 
 
ในกาลต่อมาครั้งไทยทำสงครามกับญวน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ กองทัพไทยได้ทำการกวาดต้อน ญวนเข้ามาเป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่บางโพ บ้าง โปรดให้ออกไปรักษาป้อนสร้างใหม่ที่ เมืองกาญจนบุรี  และให้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบล บึงทะเลสาบ หน้าสถานีรถไฟคลองรังสิต (บริเวณ นี้ชาวบ้านเรียกว่า "วงเดือน" เพราะคลอง ขุดแยกจากคลองรังสิตใกล้กับประตูน้ำจุฬา ลงกรณ์ เป็นรูปโค้งเข้ามายังสถานีรถไฟคลองรังสิตรูปวงเดือนครึ่งซีก)