สมัยกรุงธนบุรี

 
พระยาตาก
ขุนนางไทยผู้หนึ่งก็ออกประกาศให้พลเมืองต่อสู้ รวบรวมทหารได้ประมาณหนึ่งพันคน ยกไปตั้งมั่นอยู่ตามภูเขาในเขตนครนายก ซึ่งศัตรู ไม่สามารถขับออกไปได้ ขุนนางไทยผู้นี้ชื่อ พระยาตาก บิดาเป็นจีน มารดาเป็นชาวไทย และขณะที่พม่าบุกกรุงสยาม ท่านเป็นเจ้าเมืองจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือ แต่พอทัพพม่าเดินทางกลับเมืองอังวะ พระยาตากก็เริ่มวางรากฐานแห่งการก้าวขึ้นสู่อำนาจของตน เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมรับรู้อำนาจของพระยาตาก ท่านก็ยกทัพไปตีเมืองจันทบุรี และมีชัยชนะเข้าเมืองได้ เมื่อตีได้จันทบุรีแล้ว ท่านเดินทางมาเมืองบางกอก และได้รับการรับรองยกย่องว่าเป็นผู้กู้ชาติ ท่านพำนักอยู่ในเมืองนี้และสถาปนาเป็นเมืองหลวงใหม่ของพระราชอาณาจักร ครั้นแล้วก็ค่อยๆ ตีเอาเมืองเพชรบุรี  นครศรีธรรมราช และเกดาห์ พระยาตากยกทัพไปยังภาคเหนือจนถึงเมืองเชียงใหม่ แล้วกลับมายังเมืองบางกอก ทุกคนต่างพากันยอมรับนับถืออำนาจกษัตริย์ของท่าน
 
พระสังฆราชเลอ บ็อง
วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1762 พระสังฆราชบรีโกต์  มีหนังสือถึงสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ ว่าท่านอาพาธมาปีกว่าแล้ว จำเป็นต้องขอ พระสังฆราชผู้ช่วยองค์หนึ่งสยาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1764 คุณพ่อเลอ บ็องได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชแห่งเมแตลโลโปลิส และ เป็นพระสังฆราชผู้ช่วยประมุขมิสซังกรุงสยาม  ท่านเคยอยู่ที่วิทยาลัยกลางกรุงสยามเป็นเวลา 10 ปี เคยปกครองวิทยาลัยในฐานะอธิการเป็น ผู้สมควร ท่านมีความประพฤติดี มีความศรัทธาแน่นแฟ้น ความเชื่อมั่นคง ความรู้ดีและมีความสามารถสูงในการอบรมเยาวชน 
 
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1771 พระสังฆราชเลอ บ็อง เดินทางถึงเมืองบางกอกพร้อมกับมิชชันนารีหนุ่มองค์หนึ่ง คือคุณพ่อการโนลต์ ซึ่งภาย หลังได้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่าน ท่านนำสารฉบับหนึ่งกับของแปลกๆ หลายอย่าง มาทูลถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าตากสินทรงต้อนรับพระสังฆราชด้วยพระทัยดี   และเพื่อขอบคุณสำหรับเครื่องบรรณาการที่ท่านข้าหลวงฝากมาถวาย พระเจ้าตากสินทรงเพิ่มที่ดินให้วัดซางตาครู้ส และพระราชทานเรือ 2 ลำแก่มิสซัง หลายครั้งที่พระองค์ทรงเรียกพระสังฆราชเลอ บ็อง ไปเฝ้าในพระราชสำนัก ทรงสนทนาวิสาสะกับ ท่านอย่างเป็นกันเอง และทรงไต่ถามถึงประเทศฝรั่งเศสและศาสนาคาทอลิก บางเรื่องที่พระสังฆราชทูลตอบนั้นทำให้พระองค์ทรงฉงนฉงาย ในปลาย ค.ศ.1771 พระองค์ทรงยกทัพไปตีเมืองพุทไธมาส ขากลับพระองค์ได้ทรงนำคริสตัง 46 คน มาจากแคว้นนี้ด้วย คริสตังเหล่านี้ได้ตั้งรกรากที่เมืองบางกอก ในหมู่บ้านญวนที่คุณพ่อการโนลต์ปกครองอยู่
 
การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ในเดือนกันยายน ค.ศ.1775 ก็มีพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาอีก นายทหารคริสตัง 3 นาย  แทนที่จะไปยังวัดพุทธและดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก็ไปยังวัดคริสตัง คุกเข่าเบื้องหน้าพระแท่นต่อหน้าสัตบุรุษ     เป็นจำนวนมากกล่าวคำสาบานโดยอ้างพระวรสารเป็นพยานต่อหน้าประมุขมิสซังแล้วประมุขมิสซังก็ออกหนังสือสำคัญแสดงว่าเขาได้ทำพิธีสาบานเช่นนั้นแล้วพวกขุนนางนำพฤติการณ์เรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงทราบและให้ทรงถือว่าเป็นการลบหลู่พระบรมเดชานุภาพ และเป็นการคิดร้ายต่อพระราชอำนาจ  พระเจ้าตากสินทรงเกรี้ยวกราด แล้วรับสั่งให้จับนายทหารทั้งสามใส่คุก วันนั้นเป็นวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1775
 
พระสังฆราชเลอ บ็อง กับมิชชันนารีถูกจับไปจำคุก
สามวันต่อมา  พระเจ้าตากสินมีรับสั่งให้จับพระสังฆราชเลอ บ็อง และมิชชันนารี 2 องค์ คือ คุณพ่อกูเดและคุณพ่อการโนลต์ ไปจำคุก  เขาพยายามขู่ให้ผู้แพร่ธรรมทั้งสามสำนึกผิดและรับว่าได้ทำผิด เขาหมายจะบังคับให้ทั้งสามขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระเจ้า แผ่นดิน แต่ทั้งสามปฏิเสธ จึงถูกเฆี่ยนแล้วถูกนำกลับไปจำคุก ส่วนข้าราชการคริสตังที่ถูกจำคุกและถูกเฆี่ยนนั้นทนอยู่ได้สองเดือนแต่เมื่อได้สู้รบจนเหนื่อยหน่ายและใจอ่อนเพราะได้ฟังคำแนะนำของเพื่อนข้าราชการที่เตือนให้เชื่อฟังพระเจ้าแผ่นดินแล้ว เขาก็ไปยังวัดพุทธดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และทำการสาบานตามจารีตพิธีของคนต่างศาสนา 
 
พวกมิชชันนารีถูกใส่ความ
พวกมิชชันนารีที่อยู่ในคุกถูกใส่ความเรื่องหนึ่ง คือหลังจากพระสังฆราชและพระสงฆ์สององค์ถูกเฆี่ยนแล้ว  คริสตังบางคนที่ได้รับอนุญาตให้ มาเยี่ยมท่านก็นำอาหารมาให้ แล้วชำระล้างและพันแผลให้ด้วยความเคารพอย่าง สุดซึ้งและจับใจการแสดงความเคารพเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิด  การใส่ความเรื่องหนึ่งขึ้น  คือ  หญิงม่ายคนหนึ่งเก็บผ้าที่เปื้อนโลหิตของมิชชันนารีไว้อย่างเลื่อมใส และเอาไปให้คริสตังบางคนดู มิช้า การกระทำที่เป็นเรื่องธรรมดาๆ นี้ถูกบิดเบือนจนกลายเป็นอาชญากรรมผิดต่อความมั่นคงของรัฐไป คือคริสตังไม่ดีคนหนึ่งเป็นหนี้มิชชันนารี ใคร่จะพ้นหนี้สินนั้น และคงจะเป็นเพราะอยากได้ความชอบจากทางราชการด้วย จึงคิดว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้สมความมุ่งหมายของตน เขาไป ฟ้องกล่าวหาพวกมิชชันนารีในคุกว่า พระสังฆราชและพระสงฆ์สั่งให้หญิงผู้นี้เก็บผ้าที่เปื้อนโลหิตไว้  แล้วส่งไปยุโรปเพื่อยุให้ฝรั่งเคืองแค้น ราชอาณาจักรสยาม พระสังฆราชและพระสงฆ์ซ่อนปืนและกระสุนไว้ในบ้านของเขา  และคิดจะเอาปืนแจกพวกคริสตังสำหรับช่วยคนต่าง ประเทศ แม้จะไม่ทรงเชื่อคำใส่ความเหล่านี้เลย พระเจ้าตากสินก็ทรงห้ามบรรดาเรือที่จะออกไปเมืองปัตตาเวียมิให้รับจดหมายของพวกคริส ตังเลย ในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1776 เขานำมิชชันนารีทั้งสามไปต่อหน้าสมุหนายก สมุหนายกหมายจะบังคับให้เขาสารภาพว่า ได้กระทำ ผิดอีกครั้งหนึ่ง แต่พวกมิชชันนารีตอบปฎิเสธอย่างแข็งขัน จนในที่สุดวันที่ 2 กันยายน บรรดามิชชันนารีถูกปล่อยออกจากคุก