สภากาชาด

 
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ไทยกับฝรั่งเศสเกิดคดีพิพาทที่ชายแดนทหารไทยได้รับบาดเจ็บล้มตายโดยที่ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงที ในครั้งนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ กับคณะ ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลทหารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวได้ทรงทราบความประสงค์นั้นแล้ว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต และได้พระราชทานเงิน ๘ หมื่นบาท ร่วมในการเรี่ยไรนั้นด้วย
 
คุณหญิงเปลี่ยน   ภาสกรวงษ์
 
อย่างไรก็ตามสภาอุณาโลมแดงฯ ที่ตั้งขึ้นก็ยังไม่มีที่ทำการเป็นเอกเทศ จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริว่าควรสร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้นเป็นพระกุศลถวายอนุโลมตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ เมื่อการก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” และเสด็จโรงพยาบาล ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ 
 
อาคารกรมแผนที่ทหาร ที่เชิงสะพานข้างโรงสี ใกล้พระราชวังสราญรมย์
สมัยหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของสภากาชาดสยามหรือสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติ
สยามตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖เพื่อช่วยเหลือทหาร
ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสในเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
 
ส่วนงานสภาอุณาโลมแดงฯ ได้ระงับหยุดมาหลายปี จนเมื่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นงาน สภากาชาดสยามขึ้นอีก ดังได้ดำเนินกิจการเป็นปึกแผ่นในนามของสภากาชาดไทยสืบมาจนทุกวันนี้