พระสังฆราชหลุยส์ ชังปีอ็อง เดอ ซีซี

  • Print
 
 
ประมุขมิสซังสยามระหว่างปี ค.ศ. 1700-1727
VICAIRE APOSTOLIQUE OF SIAM 1700-1727
 
พระสังฆราชหลุยส์ ชังปีอ็อง เดอ ซีซี ประมุขมิสซังสยาม เกิดจากตระกูลเก่าแก่ตระกูลหนึ่งแห่งแคว้นบรีเทน พระสังฆราชหลายองค์ ผู้พิพากษาหลายนาย และสมุหลัญจกรนายหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ก็เกิดจากตระกูลนี้ ท่านเกิดที่ชาโตเดอซีเซ เมืองบรูค (Bruc) จังหวัดอิล-เอ-วีแลน (Ille et Vilaine) เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1648 ท่านเข้าบ้านเณรแซงต์ซุลปิส วันที่ 13 มกราคม ค.ศ.1672 ได้ศึกษาวิชาเทวศาสตร์ และในปี ค.ศ.1674 ถูกส่งไปเป็นมิชชันนารีที่เมืองมอนเตรอัล ประเทศแคนาดา และอยู่ที่นั่นจนถึงปลายปี ค.ศ.1979 หรือต้นปี ค.ศ.1680
 
ในปี ค.ศ.1682 ท่านได้มารายตัวที่บ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และในวันที่ 6 เมษายน ปีเดียวกัน ได้ถูกส่งไปอยู่ที่ประเทศจีน ปลายปี ค.ศ.1684 ท่านได้ลงเรือไปเมืองโฟเกี้ยน (Fo kien) ในปี ค.ศ.1686 ท่านอยู่ที่เมืองเชาชิว (Chao tcheou) ในมณฑลกวางตุ้ง ในปี ค.ศ.1688 ท่านถูกส่งไปทำงานที่เมืองกวางสี (Kouang si) พร้อมกับคุณพ่อดือการ์ปอง ต่อมาได้กลับมาที่เมืองเชาชิว ในปีค.ศ.1689 ท่านอยู่ที่เมืองกันตอง (Canton) จนถึงปี ค.ศ.1692 ได้กลับไปที่เมืองโฟเกี้ยนอีกครั้งหนึ่ง แต่ในไม่ช้าก็กลับมาอยู่ที่เมืองกันตองอีก ในปี ค.ศ.1697 ท่านเป็นผู้แทนในประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษาและรวบรวมกฎวินัยทั่วไปของคณะมิสซังต่างประเทศให้เป็นหมวดหมู่ 
 
ในเวลานั้น การโตแย้งเกี่ยวกับพิธีกรรมของชาวจีนกำลังดำเนินไปอย่างเต็มที่ ได้มีจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1699 ลงนามโดยแจ้งเจ้าคณะสูงสุด บรรดาผู้บริหารบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศ และมิชชันนารีบางองค์  ท่านเดอ ซีเซ ได้ต่อสู้ในคำตอบของจดหมายของบรรดาสมาชิกของคณะมิสซังต่างประเทศ ซึ่งผู้ก่อเหตุได้ตำหนิท่านที่มีความคิดเก่า จดหมายของบรรดาสมาชิกของคณะมิสซังต่างประเทศ ซึ่งผู้ก่อเหตุได้ตำหนิท่านที่มีความคิดเก่าตรงข้ามกับสิ่งที่เขาเพิ่งลงนาม มิชชันนารีได้ตอบด้วยความสงบและหนักแน่นในจดหมายลงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1700 ว่า "ข้าพเจ้าขอบอกแก่ท่านอย่างหมดเปลือก โดยปราศจากข้อสงสัย,ปราศจากข้อจำกัด และด้วยความซื่อเป็นประการสุดท้าย ว่าเกี่ยวกับพิธีกรรมของ และความตายซึ่งคำสั่งของพระสังฆราชพิพากษาลงโทษ
 
ท่านได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ.1700 ให้เป็นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งซาบืล (Sabule) และเป็นประมุขมิสซังสยาม ต่อมาท่านได้รับเอกสารซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 12 ส่งมาให้ท่านลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.1700 เป็นคำกล่าวสรรเสริญท่าน ท่านได้รับการอภิเษกวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1701 ในวัดของบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศ โดยพระสังฆราชเดอ โกแอตโลก็อง (Mgr.Cotlogon) พระสังฆราชแห่งแซงต์ บรีเอิ๊ก (Saint Brieuc) ซึ่งเป็นญาติของท่าน ท่านออกเดินทางในทันทีเพื่อมาประเทศสยาม ตามเส้นทางการเดินทาง ท่านได้โปรดศีลกำลังให้กับคน 8,000 หรือ 9,000 คน ในสังฆมณฑลเมรีอาปู (Meliapour) และมาถึงอยุธยา วันที่  6 กันยายน ค.ศ.1702 เมื่อท่านมาถึงได้ไม่นาน พระเจ้าเสือได้แสดงต่อท่านล่วงหน้าเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศส พระสังฆราชซึ่งรู้เรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1686-1688 ท่านทราบดีว่าควรพูดอะไรที่จะเป็นประโยชน์ท่านได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชาในขณะนั้น ท่านได้มีหนังสือถึงรัฐบาลเมืองปอนดิเชรี และถึงพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 
 
ท่านเอาใจใส่ต่อวิทยาลัยกลางอย่างขยันขันแข็ง ด้วยการสร้างอาคารขึ้นใหม่ และให้พวกนักเรียนพูดภาษาลาตินจนเป็นความเคยชิน ท่านกระตุ้นเตือนความกระตือรือร้นของพวกคริสตังเพื่อการรับศีลล้างบาปของพวกเด็กๆ ลูกคนต่างศาสนา และในไม่ช้าท่านสามารถบันทึกได้ว่าในมิสซังของท่าน เพียงปีเดียว เด็กๆ จำนวน 5,000 คน ได้รับศีลล้างบาปก่อนตาย ในปี ค.ศ.1715 ท่านรับรองว่ามีผู้กลับใจใหม่จำนวน 50,000 คน ท่านขอให้มีพระสังฆราชผู้ช่วยและได้บรรลุผลโดยได้มีการเลือกคุณพ่อแตสซีเยร์ เดอ เกรา เล ซึ่งได้รับการอภิเษกวันที่ 1พฤษภาคม  ค.ศ.1723 ท่านถึงแก่มรณภาพที่บ้านเณรนักบุญยอแซฟ  อยุธยา  วันที่  1  เมษายน  ค.ศ.1727