แสตมป์ชุดแรกของไทย

 
คงต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ “อินเตอร์เน็ต” ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก...
 

มีผู้คนจำนวนไม่น้อย นิยมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการท่องโลกอินเตอร์เน็ต หาความรู้ใหม่ๆ หรือความบันเทิงตามประสาของผู้ที่มีความอยากรู้ทั้งหลาย ถือเป็นการศึกษาต่อยอดความรู้เดิมที่ตนมีอยู่
 
 
หรือจะใช้เพื่อความบันเทิงส่วนตัว เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
 
แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ที่จะหาสิ่งใดที่ดีและเพียบพร้อมทุกอย่าง มีขาว ก็ต้องมีดำ มี ด้านสว่างก็ต้องมีด้านมืด สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นของคู่กันในตัวเองมันเอง อินเตอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน...
 
ภัยร้ายจากการใช้อินเตอร์เน็ตในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้เริ่มปรากฏภาพให้เห็นในสังคมไทย ควบคู่กับความเจริญด้านเทคโนโลยีที่เข้ามา และกรณีหนึ่งที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกอย่างมากเรื่องหนึ่ง ก็คือปัญหาการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ตจากการแชตห้องสนทนา หรือโดยใช้โปรแกรมสนทนาของเว็ปไซต์ชื่อดัง เพื่อพูดคุยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 
รวมถึงการล่อลวงหญิงสาวจากเว็ปไซต์จับหาคู่ซึ่งมีอยู่มากมายหลายเว็ปไซต์ ซึ่งมีทั้งชายและหญิงไทยจำนวนมากโพสรูปลงในอินเตอร์เน็ตจะด้วยตนเองหรือคนอื่นโพสให้ก็แล้วแต่ ซึ่งมักลงเอยด้วยการล่อลวงคู่สนทนาเพื่อพาไปข่มขืน
 
สิ่งที่กล่าวมานี้เกิดได้กับทุกคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต โดยการแชตเพื่อหาเพื่อนใหม่ หาคนที่เข้าใจเรา หรือหาคนที่เข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดหายในชีวิต หรือบางคนที่ต้องการหาคู่ครองที่อยู่ในอุดมคติของตัวเอง บางท่านคิดไกลไปถึงคู่ครองที่เป็นชาวต่างชาติ
 
ส่วนผู้ไ
ม่ประสงค์ดี ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม มักจะคาดเดาได้ถึงอารมณ์ ความเหงา  ความฝันที่ต้องการค้นหาจากชายหนุ่ม ซึ่งความต้องการเหล่านี้ คือจุดที่นำมาใช้ในการล่อลวงฝ่ายที่อาจถูกกระทำหรือผู้เสียหาย และอาจเป็นเพราะผู้หญิงส่วนใหญ่จะมองโลกในแง่ดี การล่อลวงจึงทำได้ง่าย
สังคมยุคนี้จึงต่างจากสังคมในอดีตโดยสิ้นเชิง เพราะเมื่อก่อนการสื่อสารระหว่างกันนิยมใช้วิธีการเขียนจดหมายถึงกันเป็นหลัก และแน่นอนว่าหากท่านเป็นคนหนึ่งที่เคยเขียนจดหมาย ก็ย่อมต้องรู้จัก “แสตมป์” อย่างไม่มีทางปฏิเสธ
 
นอกจากนี้ การสะสมแสตมป์ยังกลายเป็นความนิยมของผู้คนในยุคสมัยหนึ่ง ทำให้คุณค่าของแสตมป์จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจมองข้ามผ่านไปได้
 
ประเทศไทยเราเริ่มกิจการไปรษณีย์ปี พ.ศ. ๒๔๒๖  แสตมป์ชุดแรกประกอบด้วยแสตมป์ที่มีราคาต่ำสุด คือ ๑ โสฬศ (เท่ากั
บ ๑/๑๒๘ บาท) นักสะสมแสตมป์ถือกันว่า แสตมป์ดวง ๑ โสฬศนี้ เป็นแสตมป์ดวงแรกของไทย
 
คำว่า “โสฬส” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สะกดว่า “โสฬศ” ดังปรากฏบนแสตมป์ชุดแรกนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบายว่า “โสฬส” แปลว่า “สิบหก” มีความหมายสอดคล้องกับค่าของเงินในสมัยโบราณที่ว่า ๑๖ โสฬสเป็นเงินหนึ่งเฟื้อง และเงินโสฬสมีชื่อเรียกย่อว่า “ฬส” 
 
 
ตึกกรมไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทย
  
แสตมป์ชุดแรกของไทยมีชื่อว่า “ชุดโสฬส” ตั้งให้เป็นเกียรติแก่แสตมป์ราคาต่ำสุดของชุดนี้ คือ ราคา ๑ โสฬส มีทั้งสิ้น ๖ ราคา แต่ที่นำออกจำหน่ายครั้งแรกมีเพียง ๕ ราคา ณ ตึก “ไปรสะนียาคาร” (สะกดตามสมัยนั้น) ปากคลองโอ่งอ่าง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร อันเป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์ และเป็นไปรษณีย์แห่งแรกของสยาม เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖
 
ในสมัยนั้น กรุงสยามยังใช้ปฏิทินจันทรคติและจุลศักราช ตราประทับประจำวันที่ใช้วันแรกจึงมีข้อความว่า “วันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๔๕”
 
แต่อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งปัจจุบัน นักสะสมแสตมป์ยังเสาะหาตราประทับประจำวันแรก ที่ประทับบนซองจดหมายหรือบนแสตมป์ไม่พบ
 
ราคาของแสตมป์
แสตมป์ชุดโสฬส มีทั้งหมด ๕ ราคา คือ ๑ โสฬส, ๑ อัฐ, ๑ เสี้ยว, ๑ ซีก และ ๑ สลึง ต่อมาเพิ่มอีก ๑ ราคา คือ ๑ เฟื้อง
มูลค่าของแต่ละราคาเมื่อนำมาเทียบเป็น “บาท” มีดังนี้คือ
 
๑ โสฬส   เท่ากับ  ๑/๑๒๘  บาท (๑๖ โสฬสเท่ากับ ๑ เฟื้อง)
๑  อัฐ      เท่ากับ   ๑/๖๔   บาท
๑  เสี้ยว   เท่ากับ   ๑/๓๒   บาท (๑ เสี้ยวหรือ ๑ ไพ เท่ากับ ๒ อัฐ)
๑  ซีก     เท่ากับ  ๑/๑๖    บาท (หรือ ๔ อัฐ)
๑  เฟื้อง  เท่ากับ  ๑/๘      บาท  (หรือ ๘ อัฐ)
๑  สลึง   เท่ากับ  ๑/๔      บาท 
 
เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่า แสตมป์ราคา ๑ เฟื้อง ไม่ได้นำออกจำหน่ายตั้งแต่เริ่มแรก และไม่ปรากฏว่านำออกใช้ แม้ว่าทางโรงพิมพ์ได้ส่งเข้ามาภายหลังก็ตาม อาจเป็นได้ว่าเมื่อแสตมป์ตกมาถึงความจำเป็นที่ต้องใช้แสตมป์ราคา ๑ เฟื้อง ได้หมดลง จึงไม่ได้ประกาศใช้ คงเก็บไว้ในคลัง
 
แสตมป์ชุดโสฬสมีรูปแบบเป็นศิลปะตะวันตกโดยแท้ ไม่มีชื่อประเทศ ไม่มีราคาเป็นเลขฝรั่ง ผู้ออกแบบคือ นายวิลเลียม ริดจ์เวย์ (William Ridgeway) ผู้มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๙๐๐ เป็นคนอังกฤษ ทำหน้าที่เป็นช่างออกแบบและแกะสลักแม่พิมพ์ของบริษัทวอเตอร์โลว์และบุตร จำกัด (Waterlow & Sons, Ltd.) แสตมป์ให้กรุงสยามตั้งแต่เริ่มแรก
 
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสายขณะทรงดำรงตำแหน่งราชทูตกรุงสยามประจำภาคพื้นยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีถิ่นพำนัก ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้สั่งพิมพ์ โดยได้รับพระบัญชาจาก สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ องค์ผู้ก่อตั้งกิจการไปรษณีย์ในสยาม
 
แสตมป์ชุดนี้พิมพ์ด้วยระบบลายเส้นที่สวยงาม แผ่นละ ๘๐ ดวง มีขนาดแต กต่างกัน และมีสีต่างกัน ขณะนี้แม่พิมพ์โลหะของแสตมป์ชุดโสฬสนี้ยังเก็บรักษาไว้ที่สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ ในพระบรมมหาราชวัง
 
ในปีแรกของการก่อตั้งกิจการไปรษณีย์ในสยาม การขนส่งจดหมายและไปรษณียภัณฑ์กำหนดเฉพาะในกรุงเทพฯเท่านั้น โดยขนส่งทางเรือพายและเดินเท้า อัตราค่าฝากส่งสำหรับสิ่งตีพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์หนักไม่เกิน ๑ บาท (๑๕ กรัม) ใช้ผนึกแสตมป์ ๑ อัฐ
 
ส่วนจดหมายที่มีน้ำหนักต่ำสุดไม่เกิน ๑ บาท (๑๕ กรัม) ให้ผนึกแสตมป์ ๒ อัฐ จึงเห็นได้ว่า แสตมป์ราคา ๑ โสฬส ซึ่งเท่ากับครึ่งอัฐนั้นไม่มีโอกาสได้ใช้เลย
 
แสตมป์ดวงแรกของไทย ๑ โสฬส ที่นำมาประทับตราใช้จริงหรืออยู่บนซองจดหมายจึงหายากยิ่ง ส่วนใหญ่เป็นการประทับตราประจำวันตามคำขอร้องของนักสะสมแสตมป์ในสมัยนั้น
 
ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ สยามได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ สามารถ ส่งจดหมายและไปรษณียภัณฑ์ติดต่อกับต่างประเทศได้ แสตมป์ชุดโสฬสที่มีอยู่ไม่เข้าหลักเกณฑ์สากล ไม่มีอัตราเป็นเลขอารบิค ไม่มีชื่อประเทศ สยามจึงสั่งพิมพ์แสตมป์ชุดที่สองจากประเทศอังกฤษ
 
กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) ทางกรมไปรษณีย์โทรเลขสยามได้ประกาศยกเลิกการใช้แสตมป์ชุดโสฬสทางการถือโอกาสนำแสตมป์ที่ตกค้างอยู่ออกจำหน่ายแก่ประชาชนให้ซื้อไว้เพื่อสะสม มีจำหน่ายทุกราคา ยกเว้นราคา ๑ อัฐ เพราะจำหน่ายหมดนานแล้ว
 
ในโอกาสนี้ ทางการได้นำแสตมป์ราคา ๑ เฟื้องที่ตกค้างมารวมจำหน่ายด้วย โดยจำหน่ายชุดละ ๒ สลึง แม้กระนั้นยังจำหน่ายไม่หมด เพราะสมัยนั้นมีนักสะสมน้อย อีกทั้งไม่มีพ่อค้าแสตมป์ในสยาม
 
ดังนั้น จึงเห็นเหตุให้แสตมป์ราคา ๑ เฟื้อง หลงเหลืออยู่มากมายในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และตกทอดมาถึงกระบวนการคลังในปัจจุบัน...