รกรุงรัง-แต่เรียก “ท่าเตียน”

สงครามไทย-พม่าศึก ๙ ทัพ ยุติลงด้วยชัยชนะ ศึกครั้งสุดท้าย เมื่อพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระราชวงศ์จักรีทรงเห็นว่า ต่อนี้ไปบ้านเมืองก็จะไม่มีศึกสงครามอีกแล้ว จึงปลดปล่อยให้ไพร่พลมีทั้งคนจีน และไทยอิสลาม ที่ตกทอดมาจากสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
 
ได้ปลดปล่อยให้ไพร่พลไปเลือกที่ทำมาหากินเอาเองคนจีนนั้นได้ทำเลริมแม่น้ำเจ้าพระยาสะดวกในการติดต่อกับเรือสำเภาจีน (ซำป้อ)
 

ตลาดท่าเตียน ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ 
 
คณะมิชชั่นนารีอเมริกัน เข้ามาในสยามรัชกาลที่ ๓ คณะมิชชั่นนารีแบ่งออกเป็น ๓ แห่ง แยกย้ายกันอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากพระบรมมหาราชวังไปทางใต้ ๒๐-๖๐ เส้น เหมาะสำหรับการเปิดประชุมชาติต่างๆ
 
ข้อความเหล่านี้แสดงว่า ตั้งแต่ท่าเตียนลงไป ทั้งสองฝากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งชุมชน (ชาวจีน) อยู่กันหนาแน่น มาตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมจะมีชื่อว่ากระไรนั้นไม่ปรากฏ
 
เจ้าพระยามหิธร เมื่อครั้งได้รับเชิญใหม่แสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ในหัวข้อบรรยายว่า
 
ที่นอกวัง ทางริมแม่น้ำด้านใต้ ซึ่งเรียกกันว่าท่าเตียนนั้น มีศาลต่างประเทศตั้งอยู่ใกล้กับคลังสินค้าเป็นสิ่งคาใจอยู่อย่างหนึ่ง
 
ว่าทำไมเรียกท่าเตียน เพราะเห็นว่ารกมาก หรือจะใช้ชื่อให้หายรกหรือชื่อเยาะ เพราะเห็นว่ารกนัก
 

มุมภาพนี้ จากพระปรางค์ วัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้าม
คือ ท่าเตียน ก่อนไฟไหม้
 
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๖๑ ท่าเตียนจัดเป็นตำบลหนึ่ง เรียกว่าตำบลท่าเตียน ขึ้นอยู่กับอำเภอ (เขต) พระราชวังซึ่งมีตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตึกแถวถนนท้ายวัง ตรงที่ท่าเตียนนั่นเอง แต่ปัจจุบันท่าเตียนขึ้นอยู่กับเขตพระนคร
 
จากอดีต ท่าเตียนเป็นแหล่งชุมชนใหญ่มาแล้ว ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เพราะมีวังเจ้ านาย ตลอดจนมีบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบ้านเรือนราษฎรปลูกสร้างอยู่ที่ท่าเตียนเป็นจำนวนมาก และเป็นท่าเรือข้ามฝากที่สำคัญแห่งหนึ่งด้วย
 
จนกระทั่งมามีชื่อเรียกกันต่อมาว่า ท่าเตียน ก็เพราะเกิดไฟไหม้เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ ไฟเผาผลาญผู้คนและบ้านช่องเรียบหมด เหลือแต่เสาโด่เด่กับซากไฟไหม้ดำกองกับพื้นดิน
 
วันนั้นตรงกับเดือนเมษายน ตกค่ำเพลายามเศษเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นที่โรงของ พระองค์เจ้ามหาหงส์ ตรงนั้นมีเหย้าเรือนกระท่อมห้องหอรกรุงรังมาก ทางเดินก็แคบนัก ขณะไฟไหม้ไม่มีใครช่วยดับไฟ มัวพะวงห่วงข้าวของทรัพย์สมบัติของตัวเอง
 
ยักษ์วัดโพธิ์
 
ช่องทางเดินคับแคบอยู่แล้ว ไฟเริ่มลุกโหมแรง บ้านที่อยู่ข้างในผู้คนออกไม่ได้ ตายในไฟหนึ่งคน
 
เรือนหม่อมเจ้าในวังกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ (วังอยู่เหนือท่าเตียน) บ้านเรือนข้าราชการใกล้เคียงติดกั บหมู่บ้านนั้น และโรงงานของนายด้านทำการในพระราชวังนี้และด้านทำการในวัดพระเชตุพนฯ อยู่ติดกันกับวังก็มอดไหม้เสียหมด
 
ครั้งนี้ลมพัดหวนกลับไปมาติดกำแพง ไฟไหม้โหมร้อนแรงมาก ผู้จะเข้าไปช่วยกันตัดทางไฟก็ไม่ได้ ไฟได้ลุกหวนกลับขึ้นมาข้างบน จนกำแพงโรงใหม่ใกล้พระคลังสินค้าข้างล่างไหม้ ไหม้ลงไปจนตะพาน-ฉนวน วัดพระเชตุพนฯ พวกที่ดับไฟตั้งรับอยู่จุดนั้น ช่วยสกัดไฟได้สำเร็จ
 
หนักใจที่ป้อมภูผาสุทัศน์ เพลิงไหม้ใกล้ป้อมจนหลังคาร้อนระอุเกิดควันกรุ่นๆ ภายในป้อมมีดินปืน อยู่ ซึ่งเกิดปัญหาเพราะหากขนย้ายออกไปก็เสี่ยงจากความร้อนและเปลวไฟ ในที่สุดจึงทิ้งไว้ที่เดิม ระดมคนช่วยกันรดน้ำรอบๆป้องกันความอบอ้าวเป็นอันตรายถึงระเบิด
 
ความเสียหายนั้น ส่วนชุมชนจีนที่เคยร่วมกรำศึกสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชครั้งพ่ายพม่าโพธิ์สามต้น ศึกบางกุ้ง และมาถึงศึกพม่า ๙ ทัพ กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ และเมื่อท่าเตียนที่อยู่อาศัยวอดวายไปกับเพลิงจนเตียนไปทั้งหมดทั้งท่า (ท่าน้ำ) และจัดที่อยู่ให้ใหม่ คือ สำเพ็ง
 
ตั้งแต่นั้น ที่ตรงนั้นประชาชนก็เรียกว่า ท่าเตียน 
 
ความเสียหายในกองเพลิงนอกจากชุมชนคนจีนแล้ว ก็มีเรือนหม่อมเจ้าในกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ๒๘ หลัง โรงพระองค์เจ้ามหาหงส์ ๓ หลัง เรือน ๑๓ หลัง เรือนข้าราชการและราษฎร ๔๔ หลัง ศาลาวัดสองหลังครึ่ง โรงงานของในหลวง ๙ โรง และประตูท่าช้างล่างอีก ๑
 
เรียนท่านผู้อ่านทราบว่า ยักษ์วัดแจ้งมิได้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปตียักษ์วัดโพธิ์ ตามที่เล่าขานโทษยักษ์สองฝั่งฟากแม่น้ำเลย