ประวัติโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย

  • Print
การรักษาพยาบาลพยาบาล เราพูดได้เป็นความจริงเช่นเดียวกันว่า พระสังฆราช ลังแบรต์ เดอ ลาม็อต (Lambert de la Motte)   เป็นผู้ตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศไทยที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อ ค.ศ.1669 ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ดังที่เราจะนำประวัติของโรงพยาบาล แห่งแรกมาเล่าสู่กันฟัง โดยใช้หลักฐานอ้างอิงในหนังสือ Histoire de la Mission de Siam พระสังฆราช ลังแบรต์ เดอ ลาม็อต  เดินทาง กรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1662 ส่วนพระสังฆราชปัลลือ เดินทางถึง 2 ปีภายหลัง เมื่อ 27 มกราคม ค.ศ.1664 ทั้งสองได้วางโครงการที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นพระสังฆราชลังแบรต์ กล่าวถึงโครงการที่ท่านกับพระสังฆราชปัลลือได้วางไว้ว่าจะสร้างสามเณราลัยถาวร สำหรับผู้เตรียมบวชทุกชาติ และรับได้ 100 คน จะสร้างสำนักนักบวชหญิงที่รับได้หลายคน อยู่ภายใต้การดูแลของสตรีที่มีคุณธรรมสองหรือสามคนจากประเทศฝรั่งเศส จะตั้งโรงพยาบาล
 
 
พระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต
 
งานที่สามที่จะทำให้พระราชสำนักในประเทศนี้เห็นแล้วต้องตื่นตาตื่นใจมากที่สุดก็คือ การสร้างโรงพยาบาลรักษาคนเจ็บ สำหรับการปกครองโรงพยาบาลนี้เราต้องการคนสองคนที่มีใจกระตือรือร้นในการรับใช้ช่วยเหลือคนจน และต้องเข้าใจเรื่องศัลยกรรม และรักษาโรคบ้าง และแม้ว่าผู้ช่วยสองคนนี้จะไม่เชี่ยวชาญทีเดียว คนที่นี่ก็ยังจะถือเป็นบุคคลสำคัญ เราไม่ต้องกลัวงานใหญ่ๆเช่นนี้ โดยการอ้างเงินทุนมากมายที่ดูเหมือนจำเป็นสำหรับดำเนินงานจัดตั้ง และทะนุบำรุงเพราะผมรู้แน่นอนจากประสบการณ์ของผมเองว่า เงินปีละหนึ่งพันเอกูก็พอสำหรับเลี้ยงและบำรุงสามเณรที่นี้ร้อยกว่าคนและสำหรับสำนักนักบวชหญิง ก็ต้องการเงินน้อยกว่า เพราะเขาไม่ต้องการเรียน จึงทำหัตถกรรมหาเงินเกือบพอ สำหรับเลี้ยงตัว และช่วยค่าใช้จ่ายของคนเจ็บ เพื่อโครงการใหญ่เหล่านี้ ซึ่งจะเกิดผลมาก ทั้งเพื่อ ช่วยวิญญาณกลับใจ และทุเลาบรรเทาบรรดาคนเจ็บป่วย เงินรายได้ 2,500 เอกู เงินต้นราว 50,000 เอกู ก็ดูเหมือนจะพอ ยิ่งกว่านั้นในประเทศนี้ มีเงิน 12,000 เอกู เป็นเงินเหรียญ (real) ของสเปนถ้า เอาให้ เขากู้กันอัตราของพระเจ้าแผ่นดินก็จะได้เงินปีละ 2,500 เอกู 22%   ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่ต่ำที่สุดในพระราชอาณาจักรนี้ ดังนั้นพระสังฆราชคงจะเห็นแล้วว่า ในประเทศนี้เราทำประโยชน์ให้แก่คน มากๆ ได้ด้วยราคาถูกกว่าในประเทศฝรั่งเศสมากนักผมพอใจที่ได้เรียนความคิดเห็นนี้ให้พระสังฆราชทราบ และหวังจะเกิดผลดีอะไรบ้างหลังจากการสร้างสามเณรลัยเสร็จแล้ว พระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต ได้ดำเนินการสร้างโรงพยาบาลขึ้นใน ปี ค.ศ.1669 งานที่สองคือโรงพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1669 โรงพยาบาลนี้ขั้นแรกรับผู้ป่วย 3-4 คน ก่อนต่อมา10 คน และในปี ค.ศ.1672  รับราว 15 คน คุณพ่อลาโน ผู้ซึ่งได้เรียนเรื่องหยูกยามาบ้าง และรู้จักใช้ดีทีเดียว ก็ได้ทำงานแสดงเมตตาจิต อย่างเต็มที่ใน โรงพยาบาลแห่งนี้
 
ในปีเดียวกันนี้  ค.ศ.1671 พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงอวยพรการรักษาพยาบาลและหยูกยาของคุณพ่อลาโน  อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว โดยโปรดให้บรรดาคนเจ็บป่วยหายจากโรค ผู้คนทั้งในพระราชสำนักและในเมืองต่างพากันถือท่านเป็นหมอทีเชี่ยวชาญมาก เราจึงมีความเห็นว่าควรจะใช้ความมีชื่อนี้ ถือโอกาสช่วยวิญญาณให้รอดโดยอ้างจะรักษาร่างกาย และเพื่อจุดประสงค์ประการนี้ เราจึงสร้างโรงพยาบาลน้อยๆ  สำหรับคน จนที่เจ็บป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง จนกว่าจะมีหนทางสร้างโรงพยาบาลซึ่งเราได้คิดโครงการไว้สองสามปีมาแล้ว ชะรอยต่อไปพระผู้เป็นเจ้าทรงดลใจให้ขุนนางร่ำรวยคนใดคนหนึ่งมีน้ำใจดีออกค่าสร้างดังกล่าว และจะทรงใช้วิธีนี้ช่วยคนจนมากมาย ที่จะผ่านมาถึงมือของพวกมิชชันนารี ให้กลับใจ เพราะทุกวันเราเห็นด้วยความปลาบปลื้มใจอย่างที่สุดว่า  เมตตาจิตที่เราแสดงต่อเขาในโรงพยาบาลน้อยนี้ เป็นเครื่องดึงดูดอย่าง ประเสริฐเพื่อนำเขามาถวายแด่พระเยซูคริสตเจ้า และเพื่อขยายพระศาสนาไปทั่วพระราชอาณาจักร มีหลายคนได้รับศีลล้างบาปและศีลอื่นๆ อย่างศรัทธาเมื่อเวลาป่วย และเมื่อหายจากโรคด้วยการรักษาอย่างดีของผู้พยาบาลใจบุญแล้ว ก็ถือศาสนาของเราอย่างศรัทธาเลื่อมใส จนคนต่างศาสนาหลายต่อหลายคนเริ่มจะนิยมชมชอบเป็นอันมาก เมื่อตรึกตรองเห็นว่าเป็นศาสนานี้แหละที่กระตุ้นเราให้ทำการรับใช้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มิใช่ด้วยความเสียสละเท่านั้น แต่โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอันมากด้วยเป็นการรับใช้ช่วยเหลือที่มีคุณประโยชน์มาก แต่ขัดต่อความรู้สึกและธรรมชาติของเราอย่างหนักหน่วงทีเดียว ด้วยเหตุนี้ บรรดาธรรมทูตเองก็ยิ่งรู้คุณค่ากระแสเรียกของตน และยิ่งมีความปรารถนาที่จะยืนหยัดอยู่ในกระแสเรียกนั้นจนกว่าชีวิตจะหาไม่ แม้จะพบอุปสรรคมากมายสักเพียงใดก็ตาม นอกจากโรงพยาบาลที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว  ยังมีโรงพยาบาลที่เมืองพิษณุโลกอีกแห่งหนึ่งด้วย ปลายปี ค.ศ. 1675 พระสังฆราชลาโน ส่งคุณพ่อลังคลัว ไปที่เมืองพิษณุโลก ครั้นไปถึง คุณพ่อลังคลัวก็พบชาวเมืองนี้ราวสี่สิบคนได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากการวิวาทกับชาวมลายู ท่านได้พยาบาลรักษาเขาจนหายเกือบหมดทุกคน และภายในเวลามิช้ามินาน ได้สร้างโบสถ์น้อยหลังหนึ่ง ที่พักพระสงฆ์หลังหนึ่ง และโรงพยาบาลหลังหนึ่ง
 
พระสังฆราช ปัลลือ
 
คุณพ่อลังคลัว เสนอตัวให้พระสังฆราชลาโน ส่งไปที่ที่ท่านพอใจจะส่งพระสังฆราชทราบว่าคุณพ่อ องค์นี้ขยันขันแข็ง จึงเสนอให้ไปปลูกฝังความเชื่อในถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยได้ยินใครพูดถึง  และให้ไปประกาศพระวรสารแก่หมู่คนที่อยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาเป็นระยะทางที่ต้องไปทางน้ำประมาณหนึ่งเดือนและยังไม่เคยเห็นมิชชันนารีเลย แม้ยะเห็นว่าแผนการเรื่องนี้ปฏิบัติได้ยาก คุณพ่อก็ไม่ท้อถอย ท่านถ่อมตัวลง คิดหาทุกวิธีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อปฏิบัติการอย่างรอบคอบและทำต่อไป อย่างมีประสิทธิผล  ท่านเรียนเรื่องการแพทย์อีกพักหนึ่ง เพื่อจะได้แผ่เมตตาจิตทั้งต่อร่างกายและวิญญาณ หรือที่ถูกกว่า เพื่อจะเป็นทางช่วยวิญญาณให้รอด โดยรักษากายให้หาย ความคิดเช่นนี้เกิด เป็นผลดีทีเดียว กล่าวคือ แต่พอท่านขึ้นจากเรือไปยังที่ที่ท่านถูกส่งไป (เมืองพิษณุโลก) ตามที่เราได้กล่าวแล้ว ก็มีโอกาสดีเหลือเกินที่จะเริ่มการแพร่ธรรมด้วยการประกอบวิชาที่เรียนมาหมายความว่า ท่านได้พบชาวเมืองสี่สิบคนเพิ่งได้รับบาดเจ็บมาอย่างน่ามีอันตรายไม่น้อย โดยถูกลูกปืนขาหยั่งบ้าง ถูกลูกศรบ้าง ถูกมีดบ้าง ในการสู้รบกับผู้อยู่ใกล้เคียงที่เขาเรียกว่า  ชาวมลายูท่านลงมือรักษาเขาโดย เห็นแก่พระเป็นเจ้าและมีความหวังไว้ใจในพระทัยดีของพระองค์อย่างเต็มเปี่ยมการทำงานครั้งแรกนี้ทำได้อย่างยอดเยี่ยม และเป็นผลดีเท่าที่พึงปรารถนาได้ ข้าพเจ้าไม่ทราบแน่นอนว่ามีคนตายสอง สามคนหรือไม่ แต่จนบัดนี้ใครๆ ก็เชื่อว่า ท่านรักษาเขาหายทุกคน การรักษาดังกล่าวนี้ทำให้ทุกคนรักและเชื่อถือท่านมาก ก่อนอื่นคนกราบไหว้รูปเหล่านี้รู้สำนึกถึงบุญคุณทางร่างกายที่บางคนได้รับ ต่อไปก็พากันแสดงความนิยมชมชอบต่อเมตตาจิตที่เขาพบเห็นในหมอใหม่ผู้นี้ และมีความสนิทชิดชอบ จนข้าพเจ้าสงสัยว่า เดี๋ยวนี้ ถ้าท่านคิดจะไปแพร่ธรรมที่อื่นคนเหล่านั้นจะปล่อยให้ท่านไปหรือ ไม่ แต่ท่านคงไม่คิดแน่ เพราะขณะนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านคงคิดแต่จะสอนเขาเหล่านั้นให้มีความเชื่อมั่นในพระวรสารภายในเวลาเล็กน้อย คุณพ่อลังคลัวได้สร้างโบสถ์น้อยๆ หลังหนึ่งถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า สร้างโรงพยาบาลหลังหนึ่งให้แก่คนยากจน ปลูกบ้านหลังหนึ่งสำหรับท่าน และมิช้าภายในโบสถ์นี้ ก็มีคริสตังค์ใหม่หลายคนมาช่วยขับร้องสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าโรงพยาบาล โรงพยาบาลของท่านก็มีคนเจ็บมา อยู่เนืองแน่น ทุกคนชมใจเร้าร้อนและหยูกยาของท่าน    ส่วนบ้านของท่านเล่าก็เป็นประหนึ่งโรงเรียนสำหรับเยาวชนที่ท่านแปลคำสอนให้ฟัง หรือที่ถูกกว่าเป็นดังศาลาที่เปิดรับทุกคนเพื่อมาฟังพูดถึงพระผู้เป็นเจ้า เพื่อรับความช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่ง และผู้ที่มาแบ่งงานของท่าน ทั่งหมดนี้ให้เบาบางลง ก็คือคุณพ่อเคม ที่ถูกส่งมาให้เป็นเพื่อนทำงานกับท่าน ต่อมาได้มีการขยายโรงพยาบาลที่กรุงศรีอยุธยาให้ใหญ่ขึ้น โรงพยาบาลที่อยุธยาได้เจริญเติบโตใหญ่ขึ้น เราได้จัดมีอาคารสองหลังหลังหนึ่งสำหรับผู้ป่วยชาย อีกหลังหนึ่งสำหรับผู้ป่วยหญิง ผู้มาเข้าโรงพยาบาลมีจำนวนอยู่ในราว 50 ถึง 90 คน ต่อกับโรงพยาบาลนี้มีโรงจ่ายยา ซึ่งมีคนไข้มาขอรับการรักษาถึงวันละ 200-300 ราย เมื่อสั่งคุณพ่อลัง คลัวไปพิษณุโลกแล้ว ท่านลาโนต้องไปเยี่ยมผู้เจ็บป่วยทุกวัน และจ่ายยาให้เขาตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงบ่ายสามสี่โมง
 
โรงพยาบาลที่เราสร้างขึ้นนั้นมีคนไข้เต็มอยู่เสมอ  นอกจากนั้นจำนวนคนไข้ซึ่งมาให้ทำแผลทุกวันจากทุกทิศทาง  บางทีก็มีถึง 200-300 คน ทำให้พระศาสนาที่เราสอนและที่เขาฟังด้วยความชื่นชอบนั้น เป็นที่น่าเชื่อถือยิ่ง พระสังฆราชลาโนทำงานหนักกว่าแต่ก่อน  คนไข้มาจากทุกทิศและทุกวันท่านก็เฝ้าดูคนทำแผลให้เขาอย่างสม่ำเสมอ ท่านช่วยเขาทำแผลด้วยท่านเทศน์ และท่านรับประทานอาหารเวลาบ่ายสองโมงได้ ก็นับว่าอย่างเร็วแล้วน้ำมันศักดิ์สิทธ์และน้ำเสกที่เราแจกให้แก่คนไข้ที่นี่นั้น มีฤทธ์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนเป็นโรคเรื้อน เราแจกให้ตามบทสูตรที่กำหนดอยู่ในหนังสือจารีตเราหวังใจว่าพระผู้เป็นเจ้าจะได้รับเกียรติจากงานนี้ เพราะฝูงคนที่พากันมามากมายต่างหายจากโรค และฟังพระวาจาของพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าเราไม่สู้จะถือกฎของการทำแผลคนไข้นัก ก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ใจมิใช่หรือ ที่โดยปรกติทุกคน ถ้าไม่หายก็ค่อยทุเลาขึ้น เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า นี่เป็นงานของพระเจ้า พระภิกษุพากันเป็นหมู่  ฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า และพระวาจานั้นจะงอกงามขึ้น เมื่อถึงเวลา